ปัจจุบัน กระแสสุขภาพกำลังมาแรง คงเป็นเรื่องที่ดีที่พวกเราใส่ใจดูแลสุขภาพด้วย “ตนเอง” กันมากขึ้น แต่การดูแลตนเองหรือ Self-Care นั้นต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง ในยามที่การโฆษณาอาหารเสริม “เกินจริง” เป็นไปอย่างแพร่หลาย เช่น สามารถช่วยรักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย แต่จะเชื่อถือได้หรือไม่? และเราสามารถแก้ปัญหาโฆษณาอาหารเสริมเกินจริงได้อย่างไรบ้าง? วันนี้สุขภาพคนไทยจะนำเสนอแนะทางแก้ปัญหาให้ทุกคนฟัง
ปัญหาโฆษณาอาหารเสริมเกินจริงไม่ได้ส่งมีผลเสียแค่หลอกให้ผู้บริโภคเสียเงินเท่านั้น แต่อาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อจนบริโภคอาหารเสริม “แทน” การรับประทานยา และ/หรือไปพบแพทย์ ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นจนอาจลุกลาม หรือเสียชีวิตได้
ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามในการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง มีกรณีตัวอย่าง เช่น การอวดอ้างสรรพคุณทางยาของผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า โดยมีบุคคลหรือศิลปินที่มีชื่อเสียงนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า ทำหน้าที่เหมือน “ยา” ทั้งๆ ที่เป็นการโฆษณาที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ศาลจึงมีคำสั่งจำคุก 2 ปี และให้จ่ายค่าปรับ 50,000 บาท
คดีตัวอย่างข้างต้นได้จุดประกาย “ความหวัง” ในการแก้ไขปัญหาโฆษณาอาหารเกินจริงอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม การกำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกินจริงต้องอาศัยการทำงานรวมกันของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภคด้วย ดังนี้
สถานการณ์โฆษณาอาหารเสริมเกินจริงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและ Download บทความได้ที่ https://www.thaihealthreport.com/file_book/Situation2565-03.pdf
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง สามารถศึกษาเพิ่มเติมและ Download Policy Brief ได้ที่ https://www.thaihealthreport.com/file_book/2022-policy-brief-food-supplement.pdf