บทความสั้น
ครอบครัว: ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (ตอนที่ 2)
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | ตุลาคม 2565

ปัจจุบันโครงสร้างของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไป สำหรับครอบครัวข้ามรุ่นพบว่าแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 107,494 ครัวเรือนในปี 2530 เป็น 405,615 ครัวเรือนในปี 2556 และยังพบอีกว่าหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง1

ที่มา: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/aw%20final%20family%20leaflet_for%20web.pdf

ครอบครัวข้ามรุ่นที่หลานอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย อาจส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น จนกลายเป็นความขัดแย้งทางความคิดได้ ข้อมูลการสำรวจเยาวชนไทย โดย ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว2 แสดงให้เห็นว่าเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นมีความคิดขัดแย้งกับผู้ใหญ่ในครอบครัว ในประเด็นการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด รองลงมาเป็น การศึกษาหรือการทำงาน ครอบครัว เพื่อน/คนรัก และสังคม/การเมือง ตามลำดับ 

ที่มา: การสำรวจเยาวชนไทย. (2565). ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว.

ครอบครัวเป็นหนึ่งในปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพได้ สำหรับครอบครัวข้ามรุ่นช่องว่างระว่างวัยอาจส่งผลถึงความขัดแย้งทางความคิด และทำให้ขาดการสื่อสารในประเด็นอื่นๆ ตามมา ปัจจัยกำหนดสุขภาพอื่นๆ ยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมของสังคมและชุมชน ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางสุขภาพต่างๆ ของประชากรได้เช่นกัน รายละเอียดเพิ่มเติมรอติดตามตัวชี้วัดสุขภาพ “ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ” ในรายงานสุขภาพคนไทยปี 2566 นี้


อ้างอิง

  1. กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. (มปป.). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทยยุคเกิดน้อย อายุยืน. กรุงเทพฯ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ.
  2. ศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว. (2564). รายงานผลสำรวจระดับประเทศ 2564: ความรุนแรงในครอบครัวภายใต้สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19. กรุงเทพฯ: ศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333