สำหรับวัยผู้ใหญ่ ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกสำหรับกิจกรรมทางกาย คือ
วัยผู้ใหญ่ (อายุ 18 – 64 ปี)
สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย โดย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ในกลุ่มประชากรอายุ 18-59 ปี มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องและเกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง และลดลงในปี 2563 ซึ่งมาจากสถานการณ์โควิด-19
สัดส่วนประชากร อายุ 18-59 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ปี 2555-2563
ที่มา: โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2563,
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย.
สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกกำหนดอายุ 65 ปี ขึ้นไป ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกสำหรับกิจกรรมทางกาย คือ
ผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป)
สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย โดย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ในกลุ่มประชากรสูงอายุ ซึ่งประเทศไทยกำหนด 60 ปี ขึ้นไป มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องและเกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง และลดลงในปี 2563 ซึ่งมาจากสถานการณ์โควิด-19
สัดส่วนประชากร อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ปี 2555-2563
ที่มา: โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2563,
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย.