วันที่ 9 มิถุนายน 2565 นับว่าเป็นวันแรกที่กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ถูกถอดออกจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก ทำให้ประชาชนสามารถปลูกพืชนี้ได้ในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพรนั้น ยังคงต้องมีการขออนุญาตก่อน
กัญชา กัญชง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางตำรับยาสมุนไพรไทย ซึ่งกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำคู่มือชุดความรู้สุขภาพ “กัญชาทางการแพทย์แผนไทย” ฉบับ e-Book เผยแพร่ โดยได้รวบรวมข้อมูลทั้งวิธีใช้ ข้อควรระวัง กฎหมาย และการขออนุญาตของการใช้กัญชาและกัญชง ตำรับยาสมุนไพรจากกัญชาและกัญชง และเมนูอาหารจากกัญชาและกัญชงอีกด้วย
ซึ่งหลังจากที่ได้มีการปลดล็อค ก็พบว่ามีการนำกัญชา กัญชงมาใช้ประโยชน์เช่นใส่ในอาหาร ขนม เครื่องดื่ม เช่น แกงหน่อไม้กัญชา ยำกัญชากรอบ น้ำกัญชาสด ชานมไข่มุกกัญชา คุกกี้กัญชา
หลังจากที่กฎหมายได้ "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ก็พบข่าวมีผู้ป่วยจากกัญชารายวัน อย่างในเด็ก1 เช่น
ซึ่งนี่เป็นผู้ป่วยส่วนหนึ่งเท่านั้น มีทั้งที่ตั้งใจใช้กัญชาและไม่ตั้งใจใช้กัญชา โดยในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีความน่าเป็นห่วงต่อประชากรกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง หากมีการใช้กัญชาเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อผ่อนคลายแต่อาจกลับทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สารเสพติดก็ได้ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ได้ออกมาเตือนว่าไม่ควรใช้กัญชาในกลุ่มเด็ก เนื่องจากกัญชาส่งผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะผลกระทบต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลกระทบต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท ภาวะฆ่าตัวตาย เสี่ยงต่อการเกิดสารเสพติดชนิดอื่นๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอีกด้วย2
ส่วนประเด็นการใส่กัญชาในอาหารของร้านอาหารต่างๆ หากจะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็พบว่ามีลูกค้าที่รับประทานอาหารเข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้ บางรายเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง และเมื่อตรวจสอบร้านขายอาหารก็พบว่าไม่ได้มีการบอกลูกค้าก่อนว่ามีการใส่กัญชาลงไปในอาหาร ทำให้ในภายหลังภาคประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างมีมาตรการในการห้าม หรือแจ้งให้ผู้อื่นทราบ เช่น การแปะป้ายให้ทราบ หรือการออกประกาศกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่ได้คุมเข้มให้โรงเรียนสังกัด กทม. เป็นพื้นที่ปลอดกัญชา กัญชง โดยงดจำหน่าย อาหาร ขนม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ห้ามโฆษณา อีกทั้งประสานชุมชน ร้านค้ารอบโรงเรียนเฝ้าระวังไม่ให้จำหน่ายอาหาร ขนม เครื่องดื่มมีส่วนผสมของกัญชา กัญชง3
อ้างอิง