บทความสั้น
โควิด-19: การศึกษา (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ | กรกฎาคม 2565

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กไทยทุกระดับชั้นตั้งแต่ปฐมวัยถึงมหาวิทยาลัย ทั้งทางตรงจากการปิดโรงเรียนและทางอ้อมต่อเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น การจัดการเรียนการสอนที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ และยังรักษาคุณภาพการเรียนรู้ สุขภาพและสุขภาวะของผู้เรียน ไม่ทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นเป็นความท้าทายที่สำคัญ

ผลประทบจากโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนไปตามแนวทางที่กำหนดจากนโยบายส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ทางเลือก 5 รูปแบบ หรือ 5-ons ประกอบด้วย 1) online เป็นการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์-อินเทอร์เน็ต  2) on-demand เป็นการเรียนผ่านระบบแอปพลิเคชัน 3) on-air เป็นการเรียนผ่านระบบการศึกษาทางไกลดาวเทียม DLTV  4) on-hand เป็นการเรียนโดยการรับแจกเอกสารใบงานให้นักเรียนไปทำที่บ้านและรับคืนมาส่งในภายหลัง และ 5) on-site เป็นการเรียนการเรียนในสถานที่สำหรับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยสามารถจัดพื้นที่แบบเว้นระยะห่างและดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโรคได้

สำหรับอัตราการเข้าเรียนหนังสือของคนไทยชี้วัดจากสัดส่วนนักเรียนในระบบต่อประชากรวัยเรียน ลดลงเกือบทุกระดับชั้นในปี 2563 ที่โควิด-19 เริ่มต้นระบาดในประเทศ โดยเฉพาะระดับก่อนประถมศึกษา (ร้อยละ 78.7) และในระดับที่สูงกว่ามัธยมปลาย (ร้อยละ 45.2) สะท้อนถึงโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาการเรียนรู้ระดับปฐมวัยของเด็กไทยบางกลุ่มที่อาจจะล่าช้าออกไป และการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่น้อยอยู่แล้วให้ยิ่งน้อยลงไปอีก

ที่มา งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2535-2564 สำนักงบประมาณ, ประมวลผลโดย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  
(https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3508&filename=social เข้าถึง 28 ธ.ค. 2564)

เชิญติดตามต่อใน  โควิด-19: การศึกษา (ตอนที่ 2)

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333