บทความสั้น
โควิด-19: ชีวิตครอบครัวและชุมชน (ตอนที่ 1)
Home / บทความสั้น

กัญญา อภิพรชัยสกุล
ตัวชี้วัดสุขภาพ | กุมภาพันธ์ 2565

อัตราการกระทำความผิดทางอาญาเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดมีความก้าวหน้าด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน พบว่าแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการกระทำความผิดทางอาญามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงทั้งฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกายและเพศ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ที่มา: สถิติฐานความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาทั่วประเทศ สำนักงานตำนวจแห่งชาติ

การมาของโควิด-19 ซึ่งมาเร็วและแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วการเกิดขึ้นและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อโควิด-19 ทำให้รัฐต้องออกมาตรการต่างๆ ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการล็อคดาวน์ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) การต้องหยุดทำงานทำให้ขาดรายได้ หรือ การปิดโรงเรียนส่งผลให้บุตรหลานต้องเรียนออนไลน์ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเครียด ทั้งยังส่งผลให้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะความรุนแรงทางด้านจิตใจ แต่ความรุนแรงในครอบครัวลดลงในช่วงผ่อนคลายมาตรการต่างๆ

ที่มา: รายงานผลสำรวจระดับประเทศ 2660: ความรุนแรงในครอบครัวไทยต่อผู้หญิงและบุคคล และ รายงานผลสำรวจ   
       ระดับประเทศ 2564: ความรุนแรงในครอบครัวภายใต้สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ศูนย์จัดการความรู้
       ความรุนแรงในครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี


สำหรับครัวเรือนไทยแม้จะพบว่ามีแนวโน้มการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงพบว่ามีความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารอยู่ ครัวเรือนที่อาศัยนอกเขตเทศบาลมีอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต น้อยกว่าครัวเรือนที่อาศัยในเขตเทศบาล อาจส่งผลถึงความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของเด็กที่อยู่ในครัวเรือนนอกเขตเทศบาลอีกด้วยจากมาตรการการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ที่มา: สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333