บทความสั้น
โควิด-19 กับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม (ตอนที่ 2)
Home / บทความสั้น

มนสิการ กาญจนะจิตรา
ตัวชี้วัดสุขภาพ | มกราคม 2565

โควิด-19 กับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ตอนที่ 2

การระบาดของโควิด-19 นอกจากส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงแล้ว ปริมาณขยะมูลฝอยโดยรวมในประเทศไทยก็มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงมีประเด็นเรื่องขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นและขยะติดเชื้อที่มีปริมาณมากเกินศักยภาพในการกำจัด

“เขตปริมณฑลและภาคตะวันออกที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกินศักยภาพในการกำจัดถึง 26.13 ตันต่อวัน”

การระบาดของโควิด-19 ยังช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยโดยรวมของประเทศไทยจากการชะลอตัวของภาคธุรกิจรวมถึงปริมาณนักท่องเที่ยวในประเทศที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในภาพรวมขยะมูลฝอยจะลดลงอย่างมากจาก 28.71 ล้านตันในปี 2562 เป็น 25.37 ล้านตันในปี 2563 แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใช้บริการ delivery เพิ่มขึ้น เป็นต้น 

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ปี 2554-2563 (ล้านตัน)

ปริมาณขยะมูลฝอยโดยรวมน้อยลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกต่อคนมากขึ้น

ขยะอีกประเภทที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 คือขยะติดเชื้อที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความปลอดภัยในชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปริมาณขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นมาจากการระบาดของโควิด-19 มีมากเกินศักยภาพการกำจัดขยะเหล่านี้ในทุกพื้นที่ของประเทศ 

ปริมาณขยะติดเชื้อ ปี 2556-2564 (พันตัน)

ศักยภาพระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของประเทศ (ตัน/วัน)


รายงานสุขภาพคนไทย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 ต่อ 531, 532, 630 โทรสาร 02-441- 9333